เลขควอนตัม (Quantum number)

เลขควอนตัม (Quantum number)

แบบจำลองอะตอมของโบร์ ใช้ได้ดีกับอะตอมไฮโดรเจนหรือไอออนที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียวเท่านั้น คืออธิบายได้ว่าเส้นสเปกตรัมแต่ละเส้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  แต่สำหรับ อะตอม ที่มีอิเล็กตรอนมากกว่า  1  ซึ่งทำให้มีเส้นสเปกตรัมแปลกไปกว่ากรณีของไฮโดรเจน  พบว่าแบบจำลองอะตอมของโบร์ไม่สามารถอธิบายการเกิดเส้นสเปกตรัมเหล่านั้นได้

ความแตกต่างนี้ต้องอธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) ซึงค้นพบโดย ชเรอดิงเงอร์   โดยพบว่าอิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นคลื่น
(อิเล็กตรอนเป็นไปได้ 2 แบบ คือเป็นวัตถุ  มีมวล 9.1 x 10-28 กรัม ดังที่กล่าวมาในตอนแรก  กับอีกแบบหนึ่งมีสมบัติเป็นคลื่นตามที่ชเรอดิงเงอร์พบ)  เป็นที่มาของเลขควอนตัม  (quantum number) คือตัวเลขที่ใช้แสดงสมบัติของอิเล็กตรอนแต่ละตัว  ที่อยู่ในออร์บิทัลต่าง ๆ  โดยอิเล็กตรอนแต่ละตัวจะแสดงสมบัติด้วยเลขควอนตัม  1 ชุด  ประกอบด้วยตัวเลข 4 ค่า  คือ  n , l , ml , mS

ไปดูภาพ infrographic สรุปเรื่องนี้กัน คลิกเลยครับ

https://magic.piktochart.com/embed/3590496-quantum-number-infographic-cop
quantum number Infographic

แบบวิเคราะห์ผู้เรียน 2/2557

แบบวิเคราะห์ผู้เรียน ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา2557

นักเรียนทำแบบประเมินนี้ด้วยนะครับ ภายในวันที่ 11 พ.ย 2557 นี้นะครับ

 

https://docs.google.com/forms/d/1R6hz3CPjC8LHhuDFRNhjTS7FVnu07QI-K1qbYAP64EA/viewform

การเกิดพันธะโคเวเลนต์

กระบวนการเกิดพันธะโคเวเลนต์

กระบวนการเกิดพันธะโคเวเลนต์  แสดงได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

cova010

พันธะโคเวเลนต์ คืออะไร

พันธะโคเวเลนต์

พันธะโคเวเลนต์ คือ พันธะเคมีที่เกิดจากอะตอม 2 อะตอมที่ใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอน
ร่วมกัน การใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่เกิด 1 พันธะ อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
อาจเป็นอะตอมชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันแต่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN)
ใกล้เคียงกัน และมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (IE) สูง ทั้งคู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธะเคมี
ที่ยึดระหว่างธาตุอโลหะกับธาตุอโลหะ

คลิกที่ภาพเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธะโคเวเลนต์ ตอนที่ 1

1covalent

พันธะเคมีคืออะไร

พันธะเคมี

พันธะเคมี ( Chemical Bond) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมเพื่อเกิดเป็นกลุ่มที่เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของพันธะเคมีในโมเลกุลคือจะปรากฏในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของอะตอม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก หรือพันธะโลหะ ได้ อนึ่ง การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถเข้าใจและทำนายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารได้

p0111